Support
The beauty
080 901 1209
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2012-08-27 19:21:29.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  คุณปราณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา เป็นผู้ค้นพบและนำสมุนไพรมะหาด

 เกี่ยวกับบริษัทชาโมกข์

 

คุณปราณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา เป็นผู้ค้นพบและนำสมุนไพรมะหาด มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเส้นผมช่วยยับยั้งผมร่วงและเสริมสร้างเส้นผมใหม่ เป็นคนแรกในประเทศไทย ซึ่งได้รับอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว
          เมื่อปี พ.ศ.2546 ดิฉันรับราชการในตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ รับผิดชอบงานพืชสมุนไพร ในขณะนั้นมีผิวหน้าที่คล้ำ ไม่สดใส มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับสมุนไพรมะหาดว่าสามารถลดผิวที่คล้ำ ทำให้ผิวสดใสอย่างเป็นธรรมชาติได้ จึงไดนำสมุนไพรมะหาดมาทำเป็นตำรับหน้าขาว พบว่ามีหนึ่งตำรับที่สามารถทำให้ขนคิ้วเพิ่มมากขึ้น จึงได้นำตำรับนั้นมาพัฒนาเป็นน้ำสมุนไพรยับยั้งผมร่วง  เสริมสร้างเส้นผมใหม่ให้กับคุณพ่อในขณะนั้นที่มีอายุ 72 ปี และอาสาสมัครที่มีปัญหา ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ใช้ ปรากฏว่า สามารถยับยั้งผมร่วงและเสริมสร้างผมใหม่ได้ จึงนำไปจดสิทธิบัตร ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

          ต่อมาปี 2548 ได้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ทำการศึกษาวิจัยองค์ประกอบของของสารสำคัญที่มีในมะหาด โดยวิธีทีแตกต่างกัน พิสูจน์เอกลักษณ์โดยเทคนิคHPLC และหาปริมาณสารโดยเทคนิค GC/MS หลังจากนั้น จึงได้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด นโยบายบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีการศึกษาทดสอบ มีคุณภาพ และคุ้มค่าต่อการสั่งซื้อ

ผลิตภัณฑ์ 
ในขณะนี้  มี 7 ชนิด ได้แก่

1.ชาโมกข์แฮร์โทนิค (ยับยั้งผมร่วงเสริมสร้างเส้นผมใหม่)

2.สารสกัดมะหาดเข้มข้น

3 แชมพูทำความสะอาดเส้นผมที่มีประสิทธิภาพ  เสริมสร้างรากผมให้แข็งแรง

4 โลชั่นกันแดด SPF50

5.Whitening Body Lotion

6.White Day Cream

7.White Night  Serum 

 

*** สนใจติดต่อเจ้าของร้านได้ค่ะ ดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ มะหาด บ.ชาโมกข์ ชนิดอื่นๆได้ตามไฟล์ที่แนบมาค่ะ ^^ 

 

guest

Post : 2012-08-25 23:29:36.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  แก่นมะหาด

 พบสารสกัดจากแก่นมะหาดมีฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนสทำให้ผิวขาว

แก่นมะหาด

ไทโรซิเนส เป็นเอนไซม์ที่พบ ในสิ่งมีชีวิต หลายชนิด ใน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เอนไซม์นี้ มีหน้าที่ สร้างเม็ดสี ให้

ผิวหนัง ผม และ ตา ในพืชผักผลไม้ ไทโรซิเนส เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดสีหมองคล้ำ เมื่อถูกกระแทก หรือขีดข่วน ในแมลง เอนไซม์ชนิดนี้ เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน การวิจัย เพื่อหาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จึงอาจนำไปสู่ การค้นพบ สารที่มีฤทธิ์ชีวภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หลายชนิด เช่น นำสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ไปพัฒนาเป็นสารช่วยให้ผิวขาว เป็นสารปกป้องการหมองคล้ำของอาหารประเภท พืช ผัก ผลไม้ หรือเป็นสารที่ใช้ควบคุมการเจริญของแมลง

สารที่มีคุณสมบัติลดสีผิว  และช่วยทำให้ผิวขาว มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับกลไกการออกฤทธิ์ ทั้งนี้ สารที่ทำให้เกิดผิวขาว ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ สารขจัดสีผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรสิเนส ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา ตั้งต้นของกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน สารเหล่านี้ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาแพง
แก่นมะหาดสับ

รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ศึกษาวิจัยสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยพบว่า สารธรรมชาติในกลุ่มสติลบีนหลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส สารดังกล่าวมีทั้งที่ได้จากธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ และพบว่า สารออกซิเรสเวอราทรอล ที่สกัดจากแก่นของมะหาด ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย สามารถยับยั้งการเกิดของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้มากถึง ๑๐ เท่า จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์ในระยะสั้นพบว่า สามารถทำให้ผิวขาวได้มากขึ้นและเร็วกว่าสารสกัดจากชะเอมที่ใช้ในเครื่องสำอางโดยทั่วไปและไม่เกิด ผลกระทบต่อผิวหนัง ซึ่งในตำรายาไทยแก่นของมะหาดจะใช้ชื่อทางยาว่า โป่งหาด มีสรรพคุณในการถ่ายพยาธิ ขณะนี้การผลิตสารออกซิเรสเวอราทรอลในเชิงพาณิชย์ยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากอาจมีกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะต้องตัดต้นมะหาดเพื่อนำแก่นของต้นมาสกัดสารดังกล่าว

รศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บำรุงผิวใช้สารที่ออกฤทธิ์ทำให้ผิวขาวมีหลายชนิด เช่น สารสกัดจากชะเอม สารสกัดจากเชื้อรา ซึ่งที่ผ่านมายังอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย และมีกลไกในการออกฤทธิ์ต่างกันข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวคือ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาและมีฉลากที่ถูกต้อง รวมถึงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารปรอทซึ่งอาจเกิดอันตราย

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยสารสกัดจากแก่นมะหาดอยู่ในขั้นตอนการทดลองพัฒนา ตลอดจนศึกษาถึงประสิทธิภาพและความคงตัวเมื่ออยู่ในสูตรตำรับต่างๆ เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นสารสกัดจากแก่นมะหาดที่เหมาะสมสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการสกัดสารจากแก่นมะหาดให้มีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น

อ้างอิงจาก : ข่าวประชาสัมพันธ์ ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1